แผ่นไม้ประมาณน้ำหนัก

Baric_Tablets

อุปกรณ์

  • กล่องสามกล่อง บรรจุแผ่นไม้ที่ทำจากไม้ต่างชนิดกันสามชุด เช่น ไม้บีช ไม้โอ๊ค ไม้มะฮอกกานีเป็นต้น โดยแต่ละแผ่นจะมีน้ำหนักโดยประมาณ 12  18  และ 24 กรัม ตามลำดับ (หนักต่างกันแผ่นละ 6 กรัม)
  • ผ้าสำหรับปิดตา

วัตถุประสงค์  

               เพื่อพัฒนาให้เด็กสามารถแยกแยะวัตถุที่มีน้ำหนักแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยได้

กลไกควบคุมความผิด   

               ให้เด็กปิดตา เพื่อจะได้เพ่งความสนใจไปที่น้ำหนักมากกว่าสีของแผ่นไม้ และเมื่อถอดผ้าปิดตาออก เด็กจะสามารถตรวจสอบได้ว่าสามารถแยกแยะน้ำหนักได้ถูกต้องหรือไม่ โดยดูจากสีที่แตกต่างกันของไม้ทั้งสามชนิด

คำศัพท์

  • หนัก  หนักกว่า  หนักที่สุด  หนักเท่าๆ กับ...
  • เบา  เบากว่า   เบาที่สุด  เบาเท่าๆ กับ ...

ระดับอายุ

              3 ขวบขึ้นไป

ข้อเสนอแนะ  

              ให้เด็กนั่งหันหน้าหาครู และหงายฝ่ามือขึ้นให้ขนานกับเพดาน ผ่อนคลายหัวไหล่และแขน

               บอกเด็กว่า “ครูกำลังจะวางแผ่นไม้ลงบนมือ” ให้ครูเลือกแผ่นไม้หนักและเบามาอย่างละหนึ่งแผ่นแล้วค่อยๆวางลงบนมือเด็กทีละข้าง ข้างละแผ่น โดยยังไม่ต้องพูดอะไร  ทำซ้ำเช่นเดิมอีกครั้งโดยคราวนี้ให้สลับข้างกัน และขณะที่วางแผ่นไม้แผ่นแรกลงบนมือเด็กให้กล่าวแก่เด็กด้วยว่า “อันนี้เบา” พักสักครู่ วางอีกอันหนึ่งลงที่มืออีกข้างแล้วกล่าว “อันนี้หนัก”
               ทำซ้ำเช่นเดิมอีกครั้ง แต่คราวนี้ให้สลับข้างกันและอย่าลืมขานน้ำหนักด้วยทุกครั้ง จากนั้น ให้วางลงบนมือเด็กอีกครั้ง ทำเช่นเดิม แล้วบอกเด็กให้ยื่นชิ้นที่เบาให้ครู  หรือบอกให้ยื่นชิ้นที่หนักให้ครู หรือสลับข้างกัน ทำอีกสองครั้ง โดยยังให้เด็กปิดตาอยู่
               อีกกิจกรรมคือ ให้เด็กปิดตาเช่นเดิม และกล่าวกับเด็กว่า เมื่อครูวางแผ่นไม้ลงบนมือครูจะถามว่าสิ่งที่อยู่ในมือเขา เป็นเช่นไร โดยถามแล้วแตะที่มือเด็กเบาๆ ในข้างที่ต้องการคำตอบ

วิธีการอื่นๆ        

               เมื่อเด็กคุ้นเคยกับแผ่นไม้ที่หนักที่สุด และเบาที่สุดแล้ว ครูอาจชักชวนให้เด็กลองใช้ชุดที่หนักสุดหรือเบาสุดชุดใดชุดหนึ่งกับชุดที่มีน้ำหนักขนาดกลาง โดยไม่ต้องสาธิตอีก แต่ยังคงใช้คำว่า “หนัก” และ “เบา” เช่นเดิม
               จากนั้นครูสาธิตให้เด็กดูถึงวิธีการใช้แผ่นไม้พร้อมกันทั้งสามชุด ก่อนอื่นเด็กต้องรู้และเข้าใจแล้วว่าตนเพียงแต่ต้องพูดคำว่า “หนัก” และ “เบา” เท่านั้น จากนั้นปิดตาเด็ก นั่งหันหน้าเข้าหาครู จากนั้น ครูวางแผ่นไม้ลงบนส่วนปลายของนิ้วมือของเด็กแล้วถามว่าอันไหนหนัก อันไหนเบา ให้ครูวางลงเป็นกองๆ ตามน้ำหนักของวัสดุตามที่เด็กตอบ(หนัก ปานกลาง เบา) ตัวอย่างเช่น ยื่นชิ้นที่น้ำหนักเบา และน้ำหนักกลางให้แก่เด็ก หากเด็กบอกว่าชิ้นที่เบาเป็นชิ้นที่หนัก ให้วางไว้ที่กองตรงกลาง แต่หากเด็กระบุได้ถูกต้องว่า ชิ้น “น้ำหนักขนาดกลาง” นั้น”หนัก”
               ให้ก็นำไปวางไว้ที่กองตรงกลาง และหากเด็กสามารถระบุชิ้น “เบา” ได้ว่า “เบา” ให้วางไว้ที่กองวัสดุน้ำหนักเบา เป็นต้น

กิจกรรม          

               เมื่อมีเด็กสองถึงสามคนสามารถทำกิจกรรมนี้ได้แล้ว อาจให้เด็กจับคู่กันเองเพื่อทำกิจกรรมนี้ เพราะกิจกรรมนี้ไม่สามารถทำเองคนเดียวได้

หมายเหตุ        

               คำว่า baric มาจากภาษากรีกว่า baros ที่หมายความว่า น้ำหนัก

 

แผ่นไม้ประมาณน้ำหนัก

แบบฝึกหัดเพิ่มเติม 1

               ให้เด็กทำต่อไปกับแผ่นไม้อื่นๆโดยใช้แผ่นไม้สองกล่อง

แบบฝึกหัดเพิ่มเติม 2

               ให้เด็กนำแผ่นไม้กล่องที่สาม(ขนาดกลาง)มาเปรียบเทียบน้ำหนักกับกล่องที่เบากว่าหรือหนักกว่า

แบบฝึกหัดเพิ่มเติม 3

               ให้เด็กเปรียบเทียบน้ำหนักระหว่างแผ่นไม้ทั้งสามกล่อง

วัตถุประสงค์

               เพื่อฝึกประสาทสัมผัสเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องน้ำหนัก

ประเมินผล

              สังเกตุความถูกต้องได้จากสีของไม้

ภาษาที่ได้เรียนรู้

              หนัก-เบา,หนักกว่า- เบากว่า,หนักที่สุด-เบาที่สุด